วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

1. แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

หลักการค้นหาข้อมูลความรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการ  คือ


            1.1 รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร


            1.2 รู้ว่าแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลนั้น  น่าจะเป็นหน่วยงานใด


            1.3 รู้ว่าสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น  มีอะไรบ้าง

2. ต้องรู้วิธีเข้าเว็บไซต์ต่างๆ


3. ต้องรู้จักวิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล  หรือ Search  Engine


4. ต้องรู้จักใช้ดุลยพินิจว่า


          4.1 ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือไม่


         4.2 ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่


การสืบค้นข้อมูล


1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย


1.1 อินทราเน็ต(Intranet) เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่งๆ  ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร


1.2 เอกซ์ทราเน็ต(Extranet)  มีลักษณะคล้ายกับอินทราเน็ต  แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้


1.3 อินเทอร์เน็ต(Internet) เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายเชื่อมต่อได้เลย  เพียงแต่ปฏิบัติตามกติกาที่คณะกรรมการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนด


1.4 รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ  รูปแบบการนำเสนอข้อมูลและวิธีการเปลี่ยนข้อมูลที่แพรหลายมากจนกลายเป็นมาตรฐานไปแล้วคือรูปของ  WWW  ซึ่งมีอิทธิพลสูงมาก  ทำให้เครือข่ายเกือบทุกประเภทเปลี่ยนมาใช้ตามเป็นส่วนใหญ่

2. การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต


ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน(Search  Engine)  ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ  การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์ คำสำคัญหรือ  คีย์เวิร์ด (Key  Word) เข้าไปในช่องที่กำหนด  แล้วคลิกที่ปุ่ม Search หรือ Go  โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน  การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์ URL และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้นๆด้วย


3. คำแนะนำการใช้ Google


3.1 การค้นหาแบบง่าย  ให้พิมพ์คำที่ต้องการค้นหาเพียง 2-3 คำลงไป  แล้วกดแป้น Enter  หรือคลิกที่ปุ่มGo  ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ


3.2 ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักการทำงานของGoogle เพื่อการค้นหาชั้นสูง


1.  อักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กตัวใหญ่มีผลไม่ต่างกัน  โดย Google              จะถือว่าเป็นอักษรตัวเล็กทั้งหมด


2. คำว่า And มีอยู่แล้วโดยปริยาย  เฉพาะ Google  จะหาเฉพาะเว็บเพจที่มีคำครบทุกคำ  จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้And


3. คำสามัญประเภท  a,an,the,where,how จะถูกตัดทิ้งโดยอัตโนมัติ รวมทั้งตัวอักขระโดดๆ  เพราะคำพวกนี้จะทำให้การค้นหาช้าลงและไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแต่อย่างใด


4. การกำหนดเงื่อนไงไม่ใช้คำบางคำในการค้นหา  โดยนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายลบ(-)


5. การกำหหนดให้ใช้คำที่มีความหมายคล้ายกันด้วย  ให้นำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมาย Tilde


6.  การเลือกคำหลักมีคำแนะนำ  ดังนี้


6.1 ลองใช้คำตรงๆก่อน


6.2 ใช้คำที่คิดว่าน่าจะมีอยู่ในเว็บไซต์ที่ต้องการหา


6.3 ทำให้คำหลักมีความเจาะจงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


7. รูปคำที่มีรากศัพท์เดียวกันจะได้รับการพิจารณาโดยอัตโนมัติ


8. ในกรณีที่คำหลักมีความหมายหลายอย่างและไม่แน่ใจว่าควรใช้คำใด  ให้ไปที่  Dictionary ของ Google


9. Google มีหน้าเว็บพิเศษสำหรับช่วยให้สามารถทำการค้นหาชั้นสูงได้ง่ายขึ้น  ซึ่งสามารถค้นหาเป็นภาษาไทยได้


4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง  แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส(Email  address )  ใช้หลักการเดียวกันกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์


5. กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์(Web  forum) เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คล้ายกับการเขียนข้อความไว้บนกระดาน  เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้  แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์


6. ห้องสมุด  แหล่งข้อมูลความรู้


การกำหนดเลขรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีสองระบบ  คือ  ระบบดิวอี้(Dewy  Decimal  System)  นิยมใช้กันตามสถานศึกษา  ส่วนระบบที่สองเป็นระบบใหม่กว่า  เรียกว่า  ระบบแอลซี(Library  of  congress  System) เป็นระบบที่คิดขึ้นมาใช้สำหรับห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีจำนวนหนังสือและเอกสารมากที่สุดในโลก


7. Digital  Library (ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์)


Digital  Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์)  หมายถึง  การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์  รูปแบบของเอกสารที่จัดเก็บที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดในขณะนี้ คือ  อีบุ๊ค (E-book) หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กับ อีเจอร์นัล(E-journal) หรือวารสารอิเล็กทรอนิกส์ และอีแมกกาซีน(E-magazine) หรือนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์


8. แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


 8.1 เว็บไซต์ประเภท  Portal หรือ  Gateway หรือ ชุมทาง  เว็บไซต์ประเภทนี้มีประโยชน์มาก  เวลาที่เราไม่แน่ใจว่าจะหาข้อมูลที่ต้องการเจอหรือไม่  หากเราเข้าไปในเว็บไซต์ประเภทนี้จะพบว่าในเว็บไซต์ได้ทำจุดเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น  ทำให้เราสามารถหาแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น


เว็บไซต์ชุมทางที่สำคัญในประเทศไทย คือ http://nectec.or.th   จัดทำโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ


8.2 เว็บไซต์ประเภทของการศึกษา


เว็บไซต์ที่อาจถือได้ว่าเป็น เว็บไซต์ชุมทางประเภทของการศึกษา  ได้แก่ 



2. เว็บไซต์ LearnOnline(http://www.learn.in.th) ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย


8.3 เว็บไซต์ประเภทศิลปวัฒนธรรม


เว็บไซต์วัฒนธรรมไทย http://www.culture.go.th  ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


8.4 เว็บไซต์ประเภทท้องถิ่น  ได้แก่  http://www.thaitambun.com  ซึ่งเป็นที่รวบรวมเว็บไซต์ของตำบลต่างๆทั่วประเทศไทย  เพื่อสนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์


8.5 เว็บไซต์ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 


เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  หรือ สวทช. (http://www.nstda.or.th)


8.6 เว็บไซต์ประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-commerce) หมายถึง  การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้าขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ได้แก่ เว็บไซต์http://www.ecommerce.or.th  ของศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์